รายวิชาเรียนตาม อัธยาศัย รายวิชานี้ได้ ปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเป็น "การเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced)" ชื่อรายวิชาภาษาอังกฤษ : Caregivers techniques เกี่ยวกับรายวิชา เทคนิคการเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ เป็นการเตรียมผู้ที่ต้องการเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุให้มีทั้งความรู้และทักษะ อย่างถูกต้องเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถเตรียมตัวสู่วัยผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ ครอบคลุมถึงการดูแลด้านจิตใจ ด้านร่างกาย ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกาย สุขภาพใจที่แข็งแรง สามารถพึ่งพาตนเองได้ และแนะนำครอบครัว คนรอบข้าง ให้ดูแลผู้สูงอายุ ได้อย่างถูกต้องตามหลักการ อาจารย์ผู้พัฒนารายวิชา ผศ.ดร.เนตร หงษ์ไกรเลิศ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล E-mail : [email protected] วัตถุประสงค์การเรียนรู้ - ผู้เรียนมีความรู้ด้านการดูแลผู้สูงอายุ ด้านร่างกาย จิตใจ ด้านสิ่งแวดล้อม - ผู้เรียนมีความเข้าใจในการดูแลผู้สูงอายุได้ทั้ง 3 ด้าน อย่างถูกต้อง - ผู้เรียนสามารถถ่ายทอดวิธีการดูแลผู้สูงอายุให้กับสมาชิกในครอบครัวผ่านการอธิบายและการสาธิต จำนวนชั่วโมงเรียนทั้งหมด/จำนวนชั่วโมง ที่ต้องใช้ในการเรียนรู้ต่อสัปดาห์ 10 ชั่วโมงการเรียนรู้ (3 ชั่วโมง 30 นาทีสื่อวีดิทัศน์) /2 ชั่วโมง ของเนื้อหารายวิชา - วิชาชีพ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และอาสาสมัครกรุงเทพมหานคร - เนื้อหาเรียนตามอัธยาศัย ประเภทของการเรียนในรายวิชา (เรียนด้วยตนเอง เรียนแบบกลุ่ม) เรียนด้วยตนเอง ระดับความยากของเนื้อหารายวิชา เบื้องต้น กลุ่มเป้าหมาย ของรายวิชา - อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน - อาสาสมัครกรุงเทพมหานคร ความรู้พื้นฐานที่ต้องมีมาก่อน (หากมี) - แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ เพิ่มเติม - กรมอนามัย. การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุระยะยาว. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย 2553. - สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : ธนาเพลส 2551. - กรมอนามัย. แนวทางการอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ หลักสูตร 420 ชั่วโมง. กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก 2557. - สำนักอนามัย. คู่มือผู้ดูแลผู้ที่ไม่สามารถดูแลสุขภาพพื้นฐานด้วยตนเองได้ กรุงเทพฯ : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 2558. นโยบายการวัดประเมินผล เกณฑ์ผ่าน/เกณฑ์ไม่ผ่าน และใบประกาศนียบัตร (หากมี) เข้าเรียนและร่วมกิจกรรมการเรียนรู้มากกว่า 80% จึงจะมีสิทธิรับประกาศนียบัตร “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”