รายวิชาเรียนตาม อัธยาศัย รายวิชานี้ได้ ปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเป็น "การเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced)" เกี่ยวกับรายวิชา การรักษาพยาบาลผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน ไม่ใช่เพียงเริ่มต้นที่โรงพยาบาลเท่านั้น หากผู้ป่วยได้รับการปฐมพยาบาล ดูแล ให้การช่วยเหลือเบื้องต้น ณ ที่เกิดเหตุ โดยผู้มีความรู้ความสามารถอย่างถูกต้องแล้ว สามารถทำให้ผลการรักษามีคุณภาพดีขึ้น และเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยมากขึ้นด้วย ระบบการแพทย์ฉุกเฉินจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ โดยเริ่มตั้งแต่การร้องขอความช่วยเหลือผ่านสายด่วนฉุกเฉิน 1669 การให้คำแนะนำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยทีมบุคลากรทางการเเพทย์ฉุกเฉิน การดูแลผู้ป่วยในระยะเวลาก่อนถึงโรงพยาบาล การติดต่อประสานงาน ตลอดจนการนำส่งผู้ป่วยไปรักษาต่อโรงพยาบาลที่เหมาะสม จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 10 ชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 3 ชั่วโมง 30 นาที) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ อธิบายหลักการ บทบาทหน้าที่ ของระบบการให้บริการการแพทย์ฉุกเฉิน และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริงได้ อธิบายบทบาทหน้าที่ของบุคลากรในระบบการแพทย์ฉุกเฉินได้ อธิบายหลักการในการขนย้ายลำเลียงผู้ป่วยฉุกเฉิน พร้อมทั้งสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ และนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม วิเคราะห์สถานการณ์ผู้ป่วยฉุกเฉิน ในภาวะโรคสำคัญที่พบบ่อย ให้การช่วยเหลือเบื้องต้น และให้การรักษาตามระบบการแพทย์ฉุกเฉินได้อย่างถูกต้องเหมาะสม กลุ่มผู้เรียนเป้าหมาย มัธยมปลาย/ปริญญาตรี/ปริญญาเอก/ กลุ่มวิชาชีพ : นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์, เจ้าพนักงานฉุกเฉินการแพทย์, พนักงานฉุกเฉินการแพทย์, อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์, แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน, นักศึกษาแพทย์ ตลอดจนบุคลากรทางการแพทย์และบุคคลทั่วไปที่สนใจ ประเภทของการเรียนในรายวิชา เรียนด้วยตนเอง ระดับความยากของเนื้อหารายวิชา กลาง อาจารย์ผู้พัฒนารายวิชา พญ. ณัฐภา สว่างศรี (Nattapa Sawangsri) อาจารย์แพทย์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล E-mail : [email protected] นพ. ศุภกฤษ สัตตบุศย์ (Supakrid Suttabuth) อาจารย์แพทย์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล E-mail : [email protected] พญ. กษมณฑ์ อร่ามวาณิชย์ (Kasamon Aramvanitch) อาจารย์แพทย์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล E-mail : [email protected] แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ (ระบุเอกสาร ตำรา เว็บไซต์ ฯลฯ) เว็บไซต์ของภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี http: www.errama.com เว็บไซต์ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) http: www.niems.go.th หนังสือ : EMS Director แพทย์อำนวยการปฏิบัติการฉุกเฉิน ของภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เกณฑ์การวัดประเมินผล เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน / มีผลคะแนนแบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียนไม่น้อยกว่า 50% “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”