Class Central is learner-supported. When you buy through links on our site, we may earn an affiliate commission.

XuetangX

กลศาสตร์วิศวกรรม(工程力学)

via XuetangX

Overview

ระบบความรู้ของกลศาสตร์วิศวกรรมประกอบด้วยสองส่วนคือสถิตยศาสตร์และกลศาสตร์วัสดุ

เนื้อหาหลักของสถิตยศาสตร์คือความรู้พื้นฐานของสถิตยศาสตร์และระบบแรงในระนาบ  ความรู้พื้นฐานของสถิตยศาสตร์รวมถึงระบบแรงและแรง  สัจพจน์พื้นฐานของสถิตยศาสตร์ การสลายตัวและการสังเคราะห์แรง  แรงบิดและแรงคู่ควบ  แรงคอนสเตรนส์และแรงปฏิกิริยาคอนสเตรนส์   การวิเคราะห์การรับแรงของวัตถุ แผนภาพการคำนวณโครงสร้างและการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเรขาคณิตของระบบระนาบ ระบบแรงในระนาบประกอบด้วยระบบแรงบรรจบกันในระนาบ ระบบแรงขนานในระนาบ ระบบแรงคู่ควบในระนาบ ระบบแรงใดๆในระนาบ ความสมดุลของระบบวัตถุ ปัญหาสมดุลแรงเสียดทานและอื่น ๆ ภารกิจหลักของสถิตยศาสตร์คือ การใช้หลักการคำนวณ กฎพื้นฐานและเงื่อนไขสมดุลของแรงเพื่อแก้ปัญหาโหลดภายนอกของโครงสร้างในกระบวนการรับแรงและส่งแรง

เนื้อหาหลักของกลศาสตร์วัสดุรวมถึงความรู้พื้นฐานของกลศาสตร์วัสดุ ลักษณะเรขาคณิตของกราฟเชิงระนาบ แรงดึงแรงอัดตามแนวแกน แรงเฉือน  แรงดัด แรงบิดของอุปกรณ์บาร์ และแรงภายใน แรงเค้น ความแข็งแรง การเสียรูป ความเครียด ความแข็งและอื่นๆในการเสียรูปแบบรวมกัน   และความมั่นคงของแท่งอัด ภารกิจหลักของกลศาสตร์วัสดุคือการใช้สถานะการรับแรงภายในของโครงสร้างเพื่อแก้ปัญหาความแข็งแรง ความแข็งและความมั่นคงของอุปกรณ์บาร์

ผ่านการเรียนรู้กลศาสตร์วิศวกรรมอย่างเป็นระบบ นักเรียนสามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาความสามารถในการรับน้ำหนักของโครงสร้างในงานวิศวกรรมจริงบนพื้นฐานการเรียนรู้ความรู้การโหลดภายนอกและสถานะการรับแรงภายในของโครงสร้าง ในขณะเดียวกัน ก็วางรากฐานสำหรับการวิจัยการออกแบบและศึกษาและการเพิ่มประสิทธิภาพและนวัตกรรมของโครงสร้างทางวิศวกรรม ในการเรียนรู้กลศาสตร์ด้วยการคิดเชิงตรรกะและการรับรู้อย่างเป็นระบบ ไม่เพียงแต่จะค่อยๆปลูกฝังให้นักเรียนมีจิตใจช่างฝีมือที่พยายามกลั่นกรองให้ดียิ่งขึ้นและเด็ดเดี่ยวหนักแน่น แต่ยังช่วยให้นักเรียนสร้างทัศนคติทางวิชาการทางวิทยาศาสตร์ที่เข้มงวด แสวงหาความจริงและปฏิบัตินิยม

 กลศาสตร์วิศวกรรมครอบคลุมหลากหลายการประยุกต์ใช้แข็งแกร่ง เป็นสาขาวิชาที่มีพลังชีวิตมาก


Syllabus

  • บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกลศาสตร์เชิงทฤษฎี
    • แรงและระบบแรง
    • สัจพจน์พื้นฐานของสถิตยศาสตร์
    • การรวมและการแยกของแรง
    • โมเมนต์ของแรงและแรงคู่ควบ
    • การจำกัดและแรงปฏิกิริยาจำกัด
    • การวาดภาพการวิเคราะห์แรง
  • บทที่ 2 ระบบแรงในระนาบเดียวกัน
    • ระบบแรงที่ตัดกันที่จุดเดียวกันในระนาบ
    • ระบบแรงคู่ควบในระนาบ
    • ระบบแรงในระนาบเดียวกัน
    • ความสมดุลของระบบวัตถุ
  • บทที่ 3 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกลศาสตร์ของวัสดุ
    • รูปแบบพื้นฐานของการเปลี่ยนรูปของคาน
    • แรงภายในและความเค้น
  • บทที่ 4 แรงดึงและแรงอัดตามแนวแกน
    • การคำนวณแรงภายในของรอดแรงดึงและแรงอัดตามแนวแกน
    • การคำนวณความเค้นของรอดแรงดึงและแรงอัดตามแนวแกน
    • การคำนวณความแข็งแรงของรอดแรงดึงและแรงอัดตามแนวแกน
    • การคำนวณการเปลี่ยนรูปของรอดแรงดึงและแรงอัดตามแนวแกน
  • บทที่ 5 การดัดระนาบ
    • การคำนวณแรงภายในของคาน
    • การวาดแผนภาพแรงภายในของคานด้วยวิธีสมการ
    • การวาดแผนภาพแรงภายในของคานด้วยวิธีดิฟเฟอเรนเชียล
    • การวาดแผนภาพแรงภายในของคานด้วยวิธีการซ้อนทับ
    • การคำนวณความเค้นของคาน
    • การคำนวณความแข็งแรงของคาน
    • การคำนวณการเปลี่ยนรูปของคาน
    • การคำนวณความตึงแข็งขอคาน
  • บทที่ 6 การเปลี่ยนรูปแบบร่วมกัน
    • การคำนวณความแข็งแรงของการดัดแบบเฉียง
    • การคำนวณความแข็งแรงของความตึงและความกดอัดเยื้องศูนย์
  • บทที่ 7 ความเสถียรของบาร์แรงอัด
    • แนวคิดของการคงตัวของแท่งแรงอัด
    • โหลดวิกฤตของบาร์แรงอัดยาว
    • ความเค้นวิกฤติของบาร์แรงอัดยาว
    • การคำนวณความเสถียรของบาร์แรงอัด
    • มาตรการปรับปรุงความเสถียรภาพของบาร์แรงอัด
  • บทที่ 8 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกลศาสตร์โครงสร้าง
    • ไดอะแกรมการคำนวณโครงสร้าง
    • วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเรขาคณิต
  • บทที่ 9 การคำนวณแรงภายในของโครงสร้างดีเทอมิเนททางสถิต
    • การคำนวณแรงภายในของคานหลายช่วง
    • การคำนวณแรงภายในของช่องโค้ง
    • การคำนวณแรงภายในของโครงข้อแข็ง
    • การคำนวณแรงภายในของโครงถัก
    • การคำนวณแรงภายในของโครงสร้างคอมโพสิต
  • บทที่ 10 การคำนวณการเคลือนที่ของโครงสร้างดีเทอมิเนททางสถิต
    • การคำนวณการเคลือนที่ของโครงสร้างดีเทอมิเนททางสถิตที่ภายใต้โหลด
  • บทที่ 11 การคำนวณแรงภายในของโครงสร้างอินดีเทอมิเนททางสถิต
    • วิธีของแรง
    • วิธีของการเคลื่อนที่
    • วิธีการกระจายโมเมนต์
  • บทที่ 12 อินฟลูเอ็นซไลน์และแผนภาพเอนวะโลพ
    • อินฟลูเอ็นซไลน์และแผนภาพเอนวะโลพ
  • สอบปลายภาค

    Taught by

    ChongQing Water Resources And Electeic Engineering College

    Reviews

    Start your review of กลศาสตร์วิศวกรรม(工程力学)

    Never Stop Learning.

    Get personalized course recommendations, track subjects and courses with reminders, and more.

    Someone learning on their laptop while sitting on the floor.