ความซาบซึ้งในคุณค่าและความงามของธรรมชาติ งานสร้างสรรค์ทางศิลปะ ทัศนศิลป์ ศิลปะการแสดง ศิลปหัตถกรรม ดนตรี งานออกแบบ และสถาปัตยกรรมทั้งของไทยและของต่างประเทศและความเชื่อมโยงทางยุทธศาสตร์ จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ทั้งหมด 35 ชั่วโมงการเรียนรู้ โดยเรียนรู้ 5-6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 10 ชั่วโมง) 1. อธิบายและตระหนักถึงความซาบซึ้งคุณค่าและความงามของธรรมชาติและงานสร้างสรรค์ได้ 2. อธิบายถึงคุณค่าทางสุนทรีย์ของงานสร้างสรรค์ศิลปะที่มีความหลากหลายอันจะนำไปสู่การพัฒนาความคิด และการปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ 3. อภิปรายถึงความสำคัญและบทบาทของศิลปะด้านต่าง ๆ ที่มีต่อมนุษย์และสังคมได้ 4. อภิปรายความเชื่อมโยง ปฏิสัมพันธ์ และอิทธิพลต่อกันของศิลปะในด้านต่าง ๆ ได้ 5. อภิปรายกระบวนการสร้างสรรค์และรูปแบบของการสร้างสรรค์ ในศิลปะด้านต่าง ๆ รวมถึงผลกระทบจากงานสร้างสรรค์ทางศิลปะของมนุษย์ได้ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ที่สนใจสามารถเรียนได้ เข้าทำกิจกรรมในบทเรียน แบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้ อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก อาจารย์นภดล วิรุฬห์ชาตะพันธ์ Lect. Noppadon Viroonchatapun ภาควิชาประติมากรรม คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ศ.ม. (ประติมากรรม) คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รศ.สยุมพร กาษรสุวรรณ Assoc. Prof. Sayumporn Kasornsuwan สาขาเครื่องเคลือบดินเผา คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ศ.ม. (เครื่องเคลือบดินเผา) มหาวิทยาลัยศิลปากร ผศ.วรพล กาญจน์วีระโยธิน Asst. Prof. Worapon Kanweerayothin สาขาการแสดงดนตรี คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ศศ.ม. (การจัดการทางวัฒนธรรม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ดร.ภัธทรา โต๊ะบุรินทร์ Asst.Prof. Pattra Toburin, Ph.D. ภาควิชานาฏยสังคีต คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ปร.ด. (สหวิทยาการ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชา รศ.ดร.เอกนฤน บางท่าไม้ Assoc.Prof. Eknarin Bangthamai, Ph.D. (Instructional Designer) ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ช่องทางติดต่อทีมผู้สอน e-Mail: [email protected] เบอร์โทร: 08-1552-4999