ความสำคัญของศิลปะ บทบาทของมนุษย์ในฐานะผู้สร้างสรรค์งานศิลปะ ที่มาของแรงบันดาลใจ วิวัฒนาการของผลงานศิลปะในด้านทัศนศิลป์ ศิลปะการแสดง และดนตรีจากอดีตถึงปัจจุบัน ทั้งนี้โดยครอบคลุมประเด็นสำคัญต่อไปนี้ คือ ลักษณะเฉพาะของงานศิลปะ ศิลปะในฐานะสื่อความคิด อารมณ์ คติความเชื่อ และการสะท้อนภาพสังคม วิธีการมองและชื่นชมผลงานศิลปะจากแง่มุมสุนทรียศาสตร์ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างศิลปะกับมนุษย์และสังคม จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ทั้งหมด 30 ชั่วโมงการเรียนรู้ โดยเรียนรู้ 5-6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 10 ชั่วโมง 30 นาที) 1. ผู้เรียนสามารถอธิบายและตระหนักถึงคุณค่าทางสุนทรีย์ของศิลปะที่มีความหลากหลาย อันจะนำไปสู่การพัฒนาความคิด และการปรับใช้ในชีวิตประจำวัน 2. ผู้เรียนสามารถอธิบายถึงความสำคัญและบทบาทของศิลปะที่มีต่อมนุษย์และสังคม 3. ผู้เรียนสามารถบอกความเชื่อมโยง ปฏิสัมพันธ์ และการให้อิทธิพลต่อกันของศิลปะในด้านต่าง ๆ ได้ 4. ผู้เรียนสามารถสร้างความเข้าใจกระบวนการสร้างสรรค์และรูปแบบของการสร้างสรรค์ ในศิลปะด้านต่าง ๆ ได้ 5. ผู้เรียนสามารถบอกผลกระทบจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ได้ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ที่สนใจสามารถเรียนได้ เข้าทำกิจกรรมในบทเรียน แบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้ อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก ผศ.ดร.อนิรุทธ์ สติมั่น ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาร่วม รศ.ปิยะแสง จันทรวงศ์ไพศาล ภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผศ.อภิชัย ภิรมย์รักษ์ ภาควิชาศิลปไทย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร รศ.กัญญรัตน์ เวชชศาสตร์ ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร อ.ดร.ปัทมา ฑีฆประเสริฐกุล ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผศ.สิปปวิชญ์ กิ่งแก้ว ภาควิชานาฏยสังคีต คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผศ.วรพล กาญจน์วีระโยธิน สาขาการแสดงดนตรี คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผศ.มุจรินทร์ อิทธิพงษ์ ภาควิชานาฏยสังคีต คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ช่องทางติดต่อทีมผู้สอน e-Mail: [email protected] เบอร์: 034-255811-3 ต่อ 637-8