รายวิชานี้ได้ปรับเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced Learning) เกี่ยวกับรายวิชานี้ เนื้อหาของรายวิชานี้ ท่านจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการรู้จักตัวเอง การเข้าใจตนเองและผู้อื่น ความหมายความสำคัญและสาระที่แท้ของชีวิตและการศึกษา ความหมายความสำคัญแนวคิดและแนวทางของจิตตปัญญาศึกษา สาระและความสำคัญแห่งความสุข นิยามของความสุข ประเภทหรือระดับของความสุข การประเมินความสุข และการสร้างความสุขด้วยตัวเอง ความเชื่อมโยงของสาระแห่งชีวิต การศึกษา จิตตปัญญาศึกษาและการสร้างความสุข เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีหรือการมีชีวิตที่สมบูรณ์ด้วยการเข้าถึงความรู้ ความจริงและความดีงามของธรรมชาติและสรรพสิ่ง จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 10 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 3 ชั่วโมง 30 นาที) เงื่อนไขในการเรียนรู้วิชานี้ ผู้เรียนที่สนใจเรื่องความสุขทั่วไปก็สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง แต่หากมีความรู้เรื่องจิตวิทยาทั่วไปจะช่วยให้เข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้นนอกจากนี้การมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องโลกและชีวิต รวมทั้งความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของการศึกษาและการเรียนรู้จะเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่จะช่วยทำให้ผู้เรียนสนใจและเข้าใจในเนื้อหาสาระสำคัญของรายวิชานี้ได้ดียิ่งขึ้น วัตถุประสงค์การเรียนรู้ / ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcome) : ผู้เรียนสามารถ อธิบายความหมาย ความสำคัญและสาระที่แท้ของการเกิดมาเป็นมนุษย์ของตนเองและบุคคลอื่น สามารถรู้จักตนเอง เข้าใจตนเองและเข้าใจผู้อื่นได้ อธิบายความหมายความสำคัญและสาระที่แท้ของชีวิตและการศึกษาได้ อธิบายความหมายและความสำคัญของจิตตปัญญาศึกษา และบอกถึงหลักการ แนวทางหรือเทคนิคต่างๆ ของ จิตตปัญญาศึกษาได้ อธิบายสาระและความสำคัญแห่งความสุข นิยามของความสุข ประเภทหรือระดับของความสุขและ การประเมินความสุขได้ วิเคราะห์ความเชื่อมโยงของสาระแห่งชีวิต การศึกษา จิตตปัญญาศึกษาและการสร้างความสุขด้วยตนเองได้ เขียนกิจกรรมหรือโครงการการพัฒนาความสุขด้วยตนเองได้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เมื่อผู้เรียนได้คะแนนจากการประเมินตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป ถือว่าผ่าน รวมทั้งจะได้รับประกาศนียบัตรอิเลคทรอนิกส์ด้วยเมื่อผ่านการประเมินผลตามเกณฑ์ดังกล่าว ผู้รับผิดชอบ และผู้สอนรายวิชา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ สกุลพรรณ์( Assist.Prof.Dr.Sombat Skulphan) ประจำสาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่[email protected] อาจารย์เฉลิมพล ก๋าใจ นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาสุขภาพจิตและการพยาบาลจิตเวช (ผู้ช่วยสอน)คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่[email protected] CREATIVE COMMON สัญญาอนุญาตสิทธิ์รายวิชาและสื่อการสอนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นี้ โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons 4.0 (นานาชาติ) ด้วยเงื่อนไข CC-BY-NC-SA (This work by Chiang Mai University, as a part of Thai MOOC (thaimooc.org) project and is licensed under a Creative Commons Attribution-Non Commercial-Share Alike 4.0 International License.).
ศาสตร์และศิลป์ในการสร้างความสุข | Science and Art for Happiness Creation
Chiang Mai University via ThaiMOOC