คำอธิบายรายวิชา ความรู้เรื่องพลังงานรอบตัว เช่นพลังงานไฟฟ้า พลังงานเชื้อเพลิง และการใช้พลังงานทางอ้อม ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับพลังงานทดแทน สถานการณ์ด้านพลังงาน ความสําคัญและประโยชน์ของพลังงานทดแทน ประเด็นการอนุรักษ์ พลังงาน การใช้พลังงานทดแทน และเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนใกล้ตัวที่ทุกคนสามารถนําไปปรับใช้ได้ คุณสมบัติผู้เรียน สามารถเรียนได้ทั้งนักศึกษาปริญญาตรีและประชาชนทั่วไป วัตถุประสงค์การเรียนรู้ ภายหลังจากที่นิสิตเรียนจบหัวข้อทั้ง 5 ชั่วโมงแล้ว นิสิตจะสามารถ 1. มีความรู้เรื่องพลังงานและพลังงานทดแทน 2. สามารถอธิบายเกี่ยวกับประโยชน์ของพลังงาน/พลังงานทดแทน 3. สามารถแยกแยะเปรียบเทียบการใช้พลังงานในชีวิตประจําวัน 4. สามารถประเมิน/แสดงความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงาน/พลังงานทดแทน 5. สามารถสังเกตและวิเคราะห์พฤติกรรมของตนเองต่อประเด็นด้านการใช้พลังงาน 6. สามารถนําเสนอแนวทางและ/หรือแนวความคิดด้านพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน/พลังงาน ทดแทนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของตนได้ การวัดประเมินผล เกณฑ์การประเมินผลทั้งสิ้นร้อยละ 100 แบ่งออกเป็นการประเมินผลในหมวดต่าง ๆ ดังนี้ 1. การประเมินผลการเรียนรู้จากคําถามปรนัยแบบทดสอบความรู้หลังเรียน ร้อยละ 70 2. การประเมินผลความตั้งใจและการเข้าร่วมในกิจกรรม ร้อยละ 30 (จากการเข้าร่วมทํา Pre-test การทดสอบความรู้ย่อย และการทํากิจกรรมในบทเรียน) โดยนิสิตผู้ได้รับการประเมินผลมากกว่าร้อยละ 50 ขึ้นไป และทําแบบประเมินผลการเรียนรู้ของตนเอง และแบบประเมินผล ความพึงพอใจรายวิชา จะได้รับการพิจารณาให้ผ่าน Course Staff ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริมาส เฮงรัศมี (Sirimas Hengrasmee) ภาควิชา สถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้รับผิดชอบรายวิชา ผู้ช่วยสอน นายประรินทร์ บุตรดี (Parin Buddee) Creative common สัญญาอนุญาตสิทธิ์ “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”