คำอธิบายรายวิชา การพัฒนาที่ยั่งยืน และลักษณะของสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืน แนวความคิด แนวทางการประยุกต์ และ ปฏิบัติผ่านบทบาทของผู้ใช้อาคารและประชาชนทั่วไป ประเด็นการพิจารณาด้านการใช้พลังงานที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพการใช้พลังงานหมุนเวียน การบริหารการใช้งานอาคารและพื้นที่แวดล้อม และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยเฉพาะพฤติกรรมการใช้พลังงานเพื่อความยั่งยืน คุณสมบัติผู้เรียน สามารถเรียนได้ทั้งนักศึกษาระดับปริญญาตรีและประชาชนทั่วไป วัตถุประสงค์การเรียนรู้ ภายหลังจากที่เรียนจบหัวข้อทั้ง 5 ชั่วโมงแล้ว ผู้เรียนจะสามารถ 1. มีความรู้ในแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน 2. สามารถอธิบายเกี่ยวกับบทบาทของตน/ประชาชนต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3. สามารถแยกแยะเปรียบเทียบความรู้ที่ได้ตามความเหมาะสมของสถานการณ์ 4. สามารถประเมินผลที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน 5. สามารถสังเกตและวิเคราะห์พฤติกรรมของตนเองต่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 6. สามารถนำเสนอแนวทางและ/หรือแนวความคิดด้านพฤติกรรมและ/หรือการใช้งานอาคารเพื่อความยั่งยืนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของตนได้ การวัดประเมินผล เกณฑ์การประเมินผลทั้งสิ้นร้อยละ 100 แบ่งออกเป็นการประเมินผลในหมวดต่าง ๆ ดังนี้ 1. การประเมินผลการเรียนรู้จากคําถามปรนัยแบบทดสอบความรู้หลังเรียน ร้อยละ 70 2. การประเมินผลความตั้งใจ และการเข้าร่วมในกิจกรรม ร้อยละ 30 (จากการเข้าร่วมทํา Pre-test การทดสอบความรู้ย่อย และการทํากิจรรมในบทเรียน) โดยนิสิตผู้ได้รับการประเมินผลมากกว่าร้อยละ 50 ขึ้นไป และทําแบบประเมินผลการเรียนรู้ของตนเอง และแบบประเมินผล ความพึงพอใจรายวิชา จะได้รับการพิจารณาให้ผ่าน อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา/อาจารย์ผู้ช่วยสอน ผศ.ดร.สิริมาส เฮงรัศมี ภาควิชา สถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้รับผิดชอบรายวิชา นายประรินทร์ บุตรดี ผู้ช่วยสอน Creative common สัญญาอนุญาตสิทธิ์ “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”
สถาปัตยกรรมกับการพัฒนาที่ยั่งยืน ภาคบทบาทของประชาชน | Architecture and Sustainable Development for Everyone
Naresuan University via ThaiMOOC