รายวิชานี้ได้ปรับเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced Learning) เกี่ยวกับรายวิชา ศึกษาและปฏิบัติงานเกี่ยวกับ ระบบความปลอดภัยในงานไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ แหล่งกำเนิดไฟฟ้า กฏของโอห์ม พลังงานไฟฟ้า วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น วงจรไฟฟ้าแสงสว่าง การควบคุมมอเตอร์เบื้องต้น อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าและการต่อสายดิน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หม้อแปลงไฟฟ้า รีเลย์ ไมโครโฟน ลำโพง อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำ เทคนิคการบัดกรี การใช้มัลติมิเตอร์ การประกอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้นบนแผ่นวงจรพิมพ์ ประกอบชุดคิท เกี่ยวกับเครื่องหรี่ไฟ แหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงชนิดที่ปรับค่าได้ สวิตซ์ทำงานด้วยแสง สำหรับนำมาประยุกต์ใช้งานด้านการเตือนภัย จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 8 ชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 2 ชั่วโมง 48 นาที) วัตถุประสงค์ ผู้เรียนสามารถอธิบายลักษณะของอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แต่ละประเภทได้ ผู้เรียนสามารถบอกขั้นตอนการเชื่อมต่อวงจรไฟฟ้า ผู้เรียนสามารถบอกความแตกต่าง และแยกประเภทอุปกรณ์สวิทซ์และเซนเซอร์ ในการเชื่อมต่อ วงจรไฟฟ้าได้ ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้งานเซนเซอร์ และวงจรไฟฟ้าในงานระบบเตือนภัยได้ ผู้เรียนสามารถบอกวิธีการบำรุงรักษาวงจรและอุปกรณ์เซนเซอร์ได้ ความรู้พื้นฐานที่ต้องมีมาก่อน อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น เกณฑ์การวัดผลและประเมินผลในรายวิชา ประเมินผลจากการที่ผู้เรียนเข้าทำกิจกรรมครบทุก Unit และมีคะแนนแบบทดสอบหลังเรียนไม่น้อยกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบ อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา อาจารย์เศรษฐชัย ใจฮึก Sethachai Jaihuk อาจารย์ประจำสำนักวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เบอร์โทรศัพท์ 086-2770780 E-mail :[email protected] ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ อ.ดร.วิชิต เทพประสิทธิ์ wichit thepprasit PhD อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เบอร์โทรศัพท์ 081-4318505 E-mail : [email protected] CREATIVE COMMON สัญญาอนุญาตสิทธิ์ “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC-BY-NC-SA”
การพัฒนาระบบเตือนภัยอิเล็กทรอนิกส์ | Electronic Security Development
Chiang Rai Rajabhat University via ThaiMOOC