รายวิชานี้ เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced Learning) คำอธิบายรายวิชา วินัยข้าราชการพลเรือน คือแบบแผนความประพฤติ ที่กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนควบคุมตนเอง และควบคุมผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาให้ประพฤติดี ละเว้นการประพฤติปฏิบัติในทางไม่ชอบ ไม่ควร ความสำคัญ วินัยข้าราชการพลเรือน เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การปฏิบัติราชการมีประสิทธิภาพ วินัยจึงมีความสำคัญต่อราชการเป็นส่วนรวมและต่อตัวข้าราชการ จุดมุ่งหมาย เพื่อประโยชน์ของทางราชการ เพื่อความเจริญ ความสงบเรียบร้อยของราชการ เพื่อให้ราชการดำเนินไปด้วยดี มีประสิทธิภาพ ข้อกำหนดวินัย พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 หมวด 6 วินัยและการรักษาวินัย ได้บัญญัติข้อกำหนดวินัยให้ข้าราชการพลเรือนยึดถือเป็นแบบแผนในการควบคุมความประพฤติ จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 5 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 2 ชั่วโมง 1 นาที 30 วินาที) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายความหมาย ความสำคัญและจุดมุ่งหมายของวินัยและการปฏิบัติตามบทบัญญัติเรื่องวินัยได้ 2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายเจตนารมณ์ บทบัญญัติวินัยข้าราชการข้อกำหนด พฤติกรรมที่พึงประสงค์ การปฏิบัติตามข้อกำหนดได้ 3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายเรื่องเสริมสร้างและพัฒนาให้ข้าราชการมีวินัยและป้องกันมิให้ข้าราชการกระทำผิดวินัยได้ 4. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายเรื่องโทษของการกระทำผิดวินัยข้าราชการและโทษทางวินัยได้ 5. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายเรื่องการอุทธรณ์ขอความเป็นธรรมเมื่อถูกดำเนินการทางวินัยได้ คุณสมบัติผู้เรียน บุคลากรของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และประชาชนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ที่สนใจสามารถเรียนได้ เกณฑ์การวัดผล เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน กิจกรรมในบทเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้ ทีมผู้รับผิดชอบรายวิชา MOOC อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก รุ่งนภา ธรรมมา นิติกรชำนาญการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ช่องทางติดต่อทีมผู้สอน e-Mail : [email protected] อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาร่วม รองศาสตราจารย์ ดร.สมัครสมร ภักดีเทวา รองศาสตราจารย์ประจำสำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ช่องทางติดต่อทีมผู้สอน e-Mail : [email protected] Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์ “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”