รายวิชานี้ เป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced Learning) คำอธิบายรายวิชา ศึกษาเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญของการสื่อสาร องค์ประกอบของการสื่อสารตลอดจนการประสานความร่วมมือ บทบาทและความสำคัญของการสื่อสารเพื่อการประสานความร่วมมือใน การกำหนดกลยุทธ์การสื่อสารและการประสานงานในแต่ละสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในฐานะผู้ส่งสารและ ผู้รับสาร จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 5 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 2 ชั่วโมง 6 นาที 15 วินาที) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายแนวความคิด บทบาท และความสำคัญของการสื่อสารและการประสานงาน 2. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายกระบวนการการสื่อสารและการประสานงาน 3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายปัญหาหรืออุปสรรคที่เกิดจากการสื่อสารและการประสานงาน 4. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายและประยุกต์ใช้การสื่อสารและการประสานงานกับบุคคลหรือหน่วยงาน ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์การ 5. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบายกลยุทธ์การสื่อสารและการประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพ คุณสมบัติผู้เรียน ผู้ที่ศึกษาในด้านที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสาร ตลอดจนผู้ที่สนใจหรือทำงานที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารและการประสานงานทั้งภายในและภายนอกองค์การอาทิ ครู อาจารย์ นักสื่อสารมวลชน นักโฆษณา นักประชาสัมพันธ์ ประชาชนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ที่สนใจสามารถเรียนได้ เกณฑ์การวัดผล เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน กิจกรรมในบทเรียน แบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้ ทีมผู้รับผิดชอบรายวิชา MOOC อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก อาจารย์ ดร.สุรีรักษ์ วงษ์ทิพย์ สาขานิเทศศาสตร์สารสนเทศ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ช่องทางติดต่อทีมผู้สอน e-Mail : [email protected] อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาร่วม อาจารย์ ดร.เสกสรร อามาตย์มนตรี อาจารย์ประจำสำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ช่องทางติดต่อทีมผู้สอน e-Mail : [email protected] อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาร่วม รองศาสตราจารย์ ดร.สมัครสมร ภักดีเทวา รองศาสตราจารย์ประจำสำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ช่องทางติดต่อทีมผู้สอน e-Mail : [email protected] Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์ “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”