รายวิชานี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้เข้าใจแนวคิดที่สำคัญของจิตวิทยาและการทำงาน การทำงานสาธารณสุข เจตคติต่อการทำงาน ความพึงพอใจในงาน แรงจูงใจและการสร้างพลังในการทำงาน นักศึกษาจะได้เรียนรู้พฤติกรรมการทำงานของนักสาธารณสุข ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพกับพฤติกรรมของคนในชุมชน ปัญหาสุขภาพจิตชุมชน ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของคนในชุมชน และสามารถจัดการปัญหาสุขภาพจิตด้วยวิธีการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพ จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 4 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 3 ชั่วโมง 18 นาที) 1. สามารถอธิบายแนวคิดที่สำคัญของจิตวิทยาในการทำงานสาธารณสุข 2. สามารถอธิบายทักษะทางจิตวิทยา เจตคติต่อการทำงาน ความพึงพอใจในงาน แรงจูงใจและการสร้างพลังในการทำงาน 3. สามารถอธิบายแนวคิดพฤติกรรมการทำงานในบทบาทของนักสาธารณสุข ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพกับพฤติกรรมของคนในชุมชน 4. สามารถวิเคราะห์และระบุปัญหาสุขภาพจิตชุมชน และปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของประชาชนในชุมชน นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต และบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน กิจกรรมในบทเรียน และแบบทดสอบประมวลรายวิชา (Final Exam) ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้ อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา อาจารย์ โองการ หรันเต๊ะ สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรชร ชูติพัฒนะ สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปาลีรัตน์ วงศ์ฤทธิ์ สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา อาจารย์ ดร.วันวิสาข์ สายสนั่น ณ อยุธยา สาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ email : [email protected] / [email protected] Tel. 0-856-761-880 Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์ “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”
จิตวิทยาในการทำงานสาธารณสุข | Work Psychology in Public Health
Walailak University via ThaiMOOC
-
53
-
- Write review