รายวิชาเรียนตามอัธยาศัย รายวิชานี้ได้ปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเป็น "การเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced)" วิชานี้เกี่ยวกับอะไร การผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากขยะพลาสติกจะกล่าวถึงหัวข้อหลักใหญ่ ได้แก่ ขยะในชุมชนของประเทศไทย ซึ่งมีปริมาณพลาสติกจำนวนมาก รูปแบบการจัดการขยะในชุมชนของประเทศไทย และต่างประเทศ กรรมวิธีการผลิตเชื้อเพลิงเหลว การจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อแปรเป็นเชื้อเพลิงและพลังงานโดยให้มีของเหลือทิ้งและกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยสุด จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 10 ชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 3 ชั่วโมง 30 นาที) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจสภาพขยะชุมชน เทคโนโลยีการจัดการ และการแปรรูปขยะเป็นเชื้อเพลิงเหลว 2. เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงการจัดการขยะอย่างครบวงจร ที่เริ่มจากบ้าน จนถึงบริเวณหลุมฝังกลบและมีการจัดอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อแปรเป็นเชื้อเพลิงและพลังโดยให้มีของเหลือทิ้งและกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยสุด คุณสมบัติผู้เรียน ผู้สนใจสามารถเรียนรู้เนื้อหาได้โดยไม่ต้องมีความรู้ในเรื่องนี้มาก่อน โดยผู้เรียนจะประสบความสำเร็จในการเรียนได้โดยการเข้าศึกษาเนื้อหาให้ครบทุกหัวข้อ และทำแบบฝึกหัดท้ายบทเรียนให้ครบถ้วน เกณฑ์การวัดผล เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน / มีผลคะแนนแบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียนไม่น้อยกว่า 50% ทีมผู้สอนและพัฒนา MOOC ชื่อผู้สอน ศาสตราจารย์ ดร.ธราพงษ์ วิทิตศานต์ อาจารย์และกรรมการบริหารสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หัวหน้าโครงการในการศึกษาและสำรวจการแปรรูปขยะ ถ่านหิน วัสดุเหลือทิ้งให้เป็นพลังงานกว่า 20 โครงการ อาทิ หัวหน้าโครงการสำรวจและออกแบบรายละเอียดเพื่อก่อสร้างศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า (ในส่วนของการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ) แหล่งทุน กรมควบคุมมลพิษ ปี 2557-2558 หัวหน้าโครงการศึกษาและสำรวจศักยภาพในการจัดตั้งศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าบริเวณพื้นที่ชุมชนหัวหิน ชะอำ แหล่งทุน มูลนิธิสิ่งแวดล้อมสิรินธรระยะเวลา 2558-2559 ผู้ช่วยสอน ดร.รุ่งระวี เพียรลุผล นักวิจัยผู้มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเคมิคอล และได้รับทุน The Royal Golden Jubilee (RGJ) Ph.D. Scholarship from Thailand Research Fund Creative common สัญญาอนุญาตสิทธิ์ “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”
การผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากขยะพลาสติก | The production of Liquid fuel from Plastic Waste
Chulalongkorn University via ThaiMOOC