รายวิชาเรียนตามอัธยาศัย รายวิชานี้ได้ปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเป็น "การเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย" ไม่มีทีมผู้สอนดูแลจัดการเรียนการสอนในรายวิชา ชื่อรายวิชา ภาษาไทย:การอนุรักษ์ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของพรรณพืชป่าพื้นเมืองของไทย ภาษาอังกฤษ:The conservation and sustainable use of native Thai plants รายละเอียดรายวิชา การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพมีเป็นปัจจัย 4 ที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของมวลมนุษยชาติและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนอยู่เคียงคู่กับสังคมไทยมาช้านาน แต่การคำนึงถึงเรื่องการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนยังมีการกตระหนักถึงน้อยมาก เพราะการสื่อความหมายด้านการอนุรักษ์ยังไม่ชัดเจนให้กับคนทุกระดับ คนที่มีรายได้ปานกลางและรายได้น้อยยังคงใช้ทรัพยากรป่าไม้ พรรณพืชป่าในการดำรงชีพ ซึ่งแตกต่างไปจากสังคมเมือง ดังนั้นหากไม่มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพโดยเฉพาะพรรณพืชพื้นเมืองที่นำมาใช้ประโยชน์อาจหมดหรือสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยและจากโลกนี้ลรุ่นใหม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของพรรณพืชป่า. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. เมื่อเรียนจบผู้เรียนจะเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์พรรณพืชป่าที่สำคัญของประเทศไทย และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนที่เคียงคู่วิถีชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่สมัยอดีต 2. ผู้เรียนได้ทำความรู้จักพรรณพืชป่าที่สำคัญของประเทศไทยและนำไปสู่การอนุรักษ์ในชุมชน เกณฑ์การวัดผล เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน / มีผลคะแนนแบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียนไม่น้อยกว่า 50% คุณสมบัติผู้เรียน นักเรียน นักศึกษาที่และบุคคลที่สนใจ ประชาชนทั่วไป ทีมผู้สอน ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย / Dr. Thamarat Phutthai อาจารย์ผู้สอน/Biography of instructor E-mail: [email protected] นายวันวิวัฒน์ นามศร / Mr. Wanveewat Namsorn ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา จำนวนชั่วโมงเรียนทั้งหมด 5 ชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 1 ชั่วโมง 45 นาที) จำนวนชั่วโมง ที่ต้องใช้ในการเรียนรู้ต่อสัปดาห์/หรือต่อครั้ง 1.15 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เรียนทั้งสิ้น 4 สัปดาห์ ประเภทของการเรียนในรายวิชา เรียนด้วยตนเอง แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ เพิ่มเติม - ก่องกานดา ชยามฤต. (2545). คู่มือจำแนกพรรณไม้. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สานักวิชาการป่า ไม้หอพรรณไม้ กรมป่าไม้. กรุงเทพมหานคร: ประชาชน. - ขวัญชัย ไวธัญญาการ. (2549). สถานภาพสัตว์ป่าและแนวทางการฟื้นฟู : แนวเชื่อมต่อป่า เทือกเขาตะนาวศรี. สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า(WCS) ประเทศไทย. - ดอกรัก มารอด และอุทิศ กุฏอินทร์ 2552. นิเวศวิทยาป่าไม้. กรุงเทพฯ: คณะวนศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โรงพิมพ์อักษรสยามการพิมพ์ 540 หน้า. - ทิพวัลย์ สุกุมลนันทน์. (2548). พันธุ์บุกในประเทศไทย. เชียงใหม่: นันทกานต์ กราฟฟิค การพิมพ์ - ธวัชชัย สันติสุข. (2548). พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย : เกณฑ์วิเคราะห์ สถานภาพ และแนวทางการอนุรักษ์. รายงานการประชุมความหลากหลายทางชีวภาพ ด้านป่าไม้ และสัตว์ป่า “ความก้าวหน้าของผลงานวิจัย และกิจกรรมปี 2548” ณ โรงแรมรี เจ้นท์ ชะอา เพชรบุรี วันที่ 21- 24 สิงหาคม 2548. - ธวัชชัย สันติสุข. (2549). ป่าของประเทศไทย. สานักงานหอพรรณไม้, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ ป่าและพันธุ์พืช. กรุงเทพมหานคร: ประชาชน. 120 หน้า. - ราชันย์ ภู่มา. (2551). พืชหายากของประเทศไทย. สำนักงานหอพรรณไม้, สานักวิจัยการ อนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด. - วรดลต์ แจ่มจำรูญ, นันทนภัส ภัทรหิรัญไตรสิน, นันทวรรณ สุปันติ, นันยนา เทศนา, สุคนทิพย์ ศิริมงคล, โสมนัสนา แสงฤทธิ์. (2554). พื้นที่สำคัญเพื่อการอนุรักษ์พืช ในประเทศไทย. สำนักงานหอพรรณไม้, สานักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช, กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช. กรุงเทพมหานคร: โอเมก้า พริ้นติ้ง. นโยบายการวัดประเมินผล การผ่าน/ไม่ผ่าน โดยผู้เรียนจะต้องมีคะแนนการเรียน มากกว่า 50 คะแนน ขึ้นไป จึงจะผ่านและได้รับใบประกาศนียบัตร “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”
การอนุรักษ์ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนของพรรณพืชป่าพื้นเมืองของไทย | The conservation and sustainable use of native Thai plants
Mahidol University via ThaiMOOC