รายวิชาเรียนตามอัธยาศัย รายวิชานี้ได้ปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเป็น "การเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced)" รายละเอียด Overview คำอธิบายรายวิชา ศึกษา ค้นคว้า ความรู้เกี่ยวกับความเป็นมา ความหมาย ความสำคัญ อัตลักษณ์และเอกลักษณ์กระบวนการเกิดขอบข่าย ประเภทของภูมิปัญญา การค้นพบและ แนวทางการนำไปใช้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และตัวอย่างภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง การทำลูกประคบสมุนไพร โดยการใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการทำกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ การฝึกปฏิบัติ และการทำแบบทดสอบ ที่ผู้เรียนสามารถดำเนินการทำกิจกรรมด้วยตนเองผ่านระบบ Thai MOOC ผู้เรียนจะมีความเข้าใจ ตระหนัก คุณค่า แนวทางการอนุรักษ์ของภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ และนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้งาน และสืบสาน อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้รักษ์ของภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย และนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์) 1. ชื่อรายวิชา ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทักษิณศึกษา (ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้) Southern Thai studies (Local wisdom of the South Thailand) 2. จำนวนชั่วโมงทั้งหมด 5 ชั่วโมงการเรียนรู้ 3. จำนวนชั่วโมงที่ต้องการเรียนรู้ต่อสัปดาห์/หรือต่อครั้ง 1-2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 4. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 4.1 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบาย เปรียบเทียบ นำไปใช้งานเกี่ยวกับความหมาย กระบวนการเกิด ขอบข่าย ประเภทของภูมิปัญญา 4.2 เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจ เปรียบเทียบ และแนวทางการนำไปใช้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่อง การทำลูกประคบสมุนไพร 4.3 เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอธิบาย เปรียบเทียบ นำไปใช้งานเกี่ยวกับความหมาย ชนิด ส่วนประกอบหรือสมุนไพร วัสดุ การเตรียม กระบวนการทำารใช้และข้อควรระวังในการทำลูกประคบ 5. คุณสมบัติผู้เรียน สามารถเรียนรู้ได้ทุกเพศทุกวัยมีความต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้และการทำลูกประคบสมุนไพร 6. โครงสร้างเนื้อหา 6.1 ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความเป็นมาภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหมายภูมิปัญญาท้องถิ่น อัตลักษณ์ความสำคัญภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น แนวคิดและหลักการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น 6.2 การอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ความหมายการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น รูปแบบการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น 6.3 การทำลูกประคบสมุนไพร ความหมายลูกประคบ ชนิดของลูกประคบ สมุนไพรที่ใช้ในการทำลูกประคบและสรรพคุณ วัสดุที่ใช้ในการทำลูกประคบ วิธีการทำลูกประคบ วิธีใช้และข้อควรระวังการใช้ลูกประคบสมุนไพร ประโยชน์ลูกประคบสมุนไพร 7. เกณฑ์การประเมิน 7.1 ผู้เรียนต้องทำกิจกรรมแบบทดสอบก่อนเรียนและแบบทดสอบระหว่างเรียนครบทุกหน่วย 7.2 ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 คณาจารย์ อาจารย์สมพร ขุมทอง นักวิชาการ สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ อาจารย์บุญเลิศ จันทระ นักวิชาการ สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ อาจารย์ไปรยา สุวรรณเพชร เจ้าพนักงานสาธาณสุข ชำนาญงาน โรงพยาบาลโคกโพธื์ จังหวัดปัตตานี Creative common สัญญาอนุญาตสิทธิ์ "สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ThaiMOOC(thaimooc.org)และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative common ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA"
ทักษิณศึกษา | Southern Thai studies (Local wisdom of the South Thailand)
Thaksin University via ThaiMOOC