คำอธิบายรายวิชา เนื้อหาประกอบด้วยการอธิบายลักษณะของแผลกดทับระยะต่าง ๆ ความสำคัญของแผลกดทับ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผลกดทับ วิธีการประเมินระดับของแผลกดทับ แนวทางการบำบัดรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีแผลกดทับได้ และสุดท้ายได้อธิบายถึงวิธีการป้องกันและการใช้อุปกรณ์เพื่อป้องกันแผลกดทับ จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 10 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 3 ชั่วโมง 34 นาที) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. ผู้เรียนสามารถอธิบายลักษณะของแผลกดทับระยะต่าง ๆ ได้ 2. ผู้เรียนสามารถอธิบายสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลกดทับได้ 3. ผู้เรียนสามารถอธิบายแนวทางการบำบัดรักษาฟื้นฟูผู้ป่วยที่มีแผลกดทับได้ 4. ผู้เรียนสามารถอธิบายการใช้อุปกรณ์ช่วยป้องกันแผลกดทับในกลุ่มผู้ป่วยอัมพาต เช่น cushion, alternating air overlay, gap pillow/mattressได้ คุณสมบัติผู้เรียน นักศึกษาแพทย์ พยาบาล ผู้ช่วยพยาบาล อาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ช่วยคนพิการ เกณฑ์การวัดผล เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน กิจกรรมในบทเรียน แบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้ ผู้รับผิดชอบรายวิชา อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิง ปรัชญพร คำเมืองลือ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ช่องทางติดต่อทีมผู้สอน e-Mail - [email protected] หรือ ที่เบอร์โทรศัพท์ - 053-943856 และ 097-9209893 Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์ “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”
การดูแลแผลกดทับสำหรับผู้ป่วยนอนติดเตียง | Pressure Ulcer Management for Bedridden Patients
Chiang Mai University via ThaiMOOC
-
25
-
- Write review