ปรัชญาอาชีวศึกษาและความเป็นครู | Philosophy of Vocational Education and Teaching Professionalism
King Mongkut's University of Technology Thonburi via ThaiMOOC
Overview
รายวิชานี้ได้ปรับเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced Learning) เกี่ยวกับรายวิชา การศึกษาทฤษฎี หลักการ แนวคิด ปรัชญาการอาชีวศึกษา การประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนประวัติและวิวัฒนาการการจัดการอาชีวศึกษาในประเทศไทย กฎหมายการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการอาชีวศึกษา ความสำคัญของวิชาชีพครู บทบาท หน้าที่ ภาระงานของครู จรรยาบรรณของวิชาชีพครู คุณลักษณะของครูที่ดีและทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพครู ความศรัทธาในวิชาชีพครู การเสริมสร้างศักยภาพและสมรรถภาพความเป็นครูให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้และเป็นผู้นำทางวิชาการ จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 16 ชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 5 ชั่วโมง 36 นาที) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ LO1 : ผู้เรียนสามารถอธิบายทฤษฎี หลักการ แนวคิด ปรัชญาการอาชีวศึกษาได้ LO2 : ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้หลักการ แนวคิด ปรัชญาการอาชีวศึกษาไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ LO3 : ผู้เรียนสามารถอธิบายเกี่ยวกับกฎหมายการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการอาชีวศึกษารูปแบบต่าง ๆ ได้ LO4 : ผู้เรียนสามารอธิบายเกี่ยวกับความสำคัญของการศึกษา วิชาชีพครู บทบาท หน้าที่และภาระงานของครูได้ LO5 : ผู้เรียนสามารถอธิบายเกี่ยวกับจรรยาบรรณของวิชาชีพครู และสามารถบอกคุณลักษณะของครูที่ดีได้ คุณสมบัติของผู้เรียน นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและระดับอาชีวศึกษา นิสิตและนักศึกษาระดับปริญญาตรี ผู้ที่สนใจและประชาชนทั่วไป เกณฑ์การวัดผลของรายวิชา การประเมินผลระหว่างเรียน (Formative Assessment) วัดจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนประจำโมดูลการเรียนรู้ในแต่ละสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 60 การประเมินผลหลังสิ้นสุดการเรียนการสอน (Summative Assessment) วัดจากการทำแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 40 การตัดสินให้ผ่าน (Pass) และการให้ประกาศนียบัตร (Certificate) เมื่อผู้เรียนได้คะแนนรวมทั้งหมด ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป โดยระบบจะแสดงใบประกาศนียบัตรให้อัตโนมัติในแถบเมนู Progress ซึ่งผู้เรียนสามารถ Save หรือสั่งพิมพ์ได้ด้วยตนเอง ดังนั้นผู้เรียนจึงควรเข้าเรียนและทำกิจกรรมการเรียนรู้ให้ครบทุกโมดูลการเรียนรู้ อาจารย์ผู้สอน ผู้อาจารย์ ดร.สมศักดิ์ จัตตุพรพงษ์ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผู้ช่วยสอน นายวิษณุ นิตยธรรมกุล นักศึกษาปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชนคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นายภรัณยู อรสุทธิกุล นักศึกษาปริญญาโท สาขาเทคโนโลยีการเรียนรู้และสื่อสารมวลชนคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นางสาวเมธาวี อำนวยวุฒิโรจน์ นักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สาขาเทคโนโลยีการศึกษาและสื่อสารมวลชนคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คำแนะนำสำหรับผู้เรียน ผู้เรียนควรมีอุปกรณ์ต่าง ๆ (Devices) อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โน้ตบุ๊ค แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน ที่มีความละเอียดของหน้าจอ (Resolution) ไม่ต่ำกว่า 1024 x 768 Pixel โดยอุปกรณ์ต่าง ๆ จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (High Speed Internet) ที่มีความเร็วไม่น้อยกว่า 512 Kbps โดยผู้เรียนสามารถเข้าถึงบทเรียนได้ทุกระบบปฏิบัติการ (Operating System) ผ่านเว็บเบราเซอร์ (Web Browser)