รายวิชานี้ได้ปรับเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced Learning) แนวคิดและหลักการพยาบาลแบบองค์รวมบนพื้นฐานการดูแลด้วยความเอื้ออาทรสำหรับมารดาและทารก การตั้งครรภ์และพัฒนาการของทารกในครรภ์ กลไกและกระบวนการคลอด ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพ การประเมินภาวะสุขภาพของมารดาในระยะตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันปัญหาสุขภาพ การสร้างเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาทารกและครอบครัว การพยาบาลมารดาทารกในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด การใช้กระบวนการพยาบาลโดยยึดหลักจริยธรรมและสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของครอบครัว การเลือกใช้ทรัพยากรและเทคโนโลยีที่เหมาะสม บูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่น มุ่งเสริมสร้างศักยภาพของบุคคล ครอบครัวในการดูแลตนเอง จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 10 ชั่วโมงเรียนรู้ (3 ชั่วโมง 30 นาทีสื่อวีดิทัศน์) โดยเรียนรู้ 2-3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 1. ผู้เรียนสามารถอธิบายความหมายของปฏิสนธิและพัฒนาการของทารกในครรภ์ได้ 2. ผู้เรียนอธิบายวิธีการกระตุ้นพัฒนาการทารกในครรภ์ได้ 3. ผู้เรียนสามารถบอกความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนกับสรีรวิทยาของหญิงตั้งครรภ์ได้ 4. ผู้เรียนสามารถอธิบายการวินิจฉัยการตั้งครรภ์ได้ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ที่สนใจสามารถเรียนได้ เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน กิจกรรมในบทเรียน แบบทดสอบระหว่างเรียน เก็บคะแนน 60% และแบบทดสอบหลังเรียน เก็บคะแนน 40% ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้ อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก อาจารย์นันธิดา วัดยิ้ม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ (ด้านการสอน) ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ สถาบันพระบรมราชชนกช่องทางติดต่อทีมผู้สอน e-Mail: [email protected] อาจารย์ผู้รับผิดชอบร่วมรายวิชา อาจารย์ปภาวดี ทวีสุข อาจารย์ประจำภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ สถาบันพระบรมราชชนกช่องทางติดต่อทีมผู้สอน e-Mail: [email protected]