อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งเบื้องต้นและการประยุกต์ เทคโนโลยีของฮารด์แวร์ เทคโนโลยีของเซนเซอร์ การเชื่อมต่อแบบดิจิทัลและแอนะล็อก เทคโนโลยีของระบบปฏิบัติการ การโปรแกรมแบบไคลเอ็นต์/เซิร์ฟเวอร์ การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 6 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 4 ชั่วโมง) 1. ผู้เรียนสามารถอธิบาย หลักการและแนวคิด การประยุกต์เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งได้ 2. ผู้เรียนสามารถอธิบายและประยุกต์เทคโนโลยีต่าง ๆ รวมกับเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งได้ 3. ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์และออกแบบระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งได้ 4. ผู้เรียนสามารถพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งได้ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ที่สนใจสามารถเรียนได้ เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน กิจกรรมในบทเรียน แบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้ อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก อาจารย์ ดร. ชนันท์กรณ์ จันแดง สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาร่วม อาจารย์ เจริญพร บัวแย้ม สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ e-Mail: [email protected] Tel. 075 672 2099 Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์ “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”
อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง : จากแนวคิดไปสู่ผลิตภัณฑ์ (Internet of Things : from idea to product)
Walailak University via ThaiMOOC