ตั้งกรอบโจทย์อย่างไรให้โดนใจลูกค้า | How to Post an Attractive Problem Framework for the Customers
Sukhothai Thammathirat Open University via ThaiMOOC
-
49
-
- Write review
Overview
คำอธิบายรายวิชา ความหมาย ความสำคัญของการตั้งกรอบโจทย์ (Define) เครื่องมือที่ใช้ในการตั้งกรอบโจทย์ ได้แก่ การสร้างผู้ใช้จำลอง (Persona, User Typology) แผนผังประสบการณ์การใช้งาน (User Journey Maps) แผนภาพแสดงคุณค่าของสินค้าหรือบริการ (Value Propositon Canvas) แผนภาพการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า (Customer Segment Profile) วิธีนิยามโจทย์ปัญหาการออกแบบ (How might we…?) STAKEHOLDER MAP แผนผังผู้มีส่วนร่วม และ DESIGN BRIEF โจทย์ในการออกแบบ จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 14 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 9 ชั่วโมง 20 นาที) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายความหมาย ความสำคัญของการตั้งกรอบโจทย์ (Define) ได้อย่างถูกต้อง 2. สามารถวิเคราะห์เครื่องมือที่ใช้ในการตั้งกรอบโจทย์ ได้แก่การสร้างผู้ใช้จำลอง แผนผังประสบการณ์การใช้งาน แผนภาพแสดงคุณค่าของสินค้าหรือบริการ แผนภาพการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า ได้อย่างถูกต้อง 3. อธิบายนิยามโจทย์ปัญหาการออกแบบได้อย่างถูกต้อง 4. สามารถวิเคราะห์แผนผังผู้มีส่วนร่วมได้อย่างถูกต้อง 5. อธิบายกระบวนการเขียนโจทย์ในการออกแบบได้อย่างถูกต้อง คุณสมบัติผู้เรียน นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ที่สนใจสามารถเรียนได้ เกณฑ์การวัดผล เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน กิจกรรมในบทเรียน แบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้ ทีมผู้รับผิดชอบรายวิชา MOOC อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก อาจารย์ ดร.สรญา เปรี้ยวประสิทธิ์ รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยพณิชยการธนบุรี สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ช่องทางติดต่อทีมผู้สอน e-Mail [email protected] อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาร่วม รศ.ดร.เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม รองผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ช่องทางติดต่อทีมผู้สอน e-Mail [email protected] Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์ “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”