การดูแลผู้สูงอายุ...เพื่อป้องกันภาวะความเสี่ยงจากโรคสมองเสื่อม | Elderly Caregivers...Reducing Risk of Dementia
Sukhothai Thammathirat Open University via ThaiMOOC
-
14
-
- Write review
Overview
รายวิชาเรียนตามอัธยาศัย รายวิชานี้ได้ปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนเป็น "การเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced)" วิชา "การดูแลผู้สูงอายุ...เพื่อป้องกันภาวะความเสี่ยงจากโรคสมองเสื่อม" นี้ เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการฝึกอบรม ผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Elderly Caregivers) ที่ในวิชานี้ได้หยิบยกเอาภาวะความเสี่ยงจากโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่กำลังได้รับความสนใจและให้ความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งผู้เรียนจะได้รู้ถึงความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ แนวทางการช่วยเหลือและการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมและโภชนาการกับการส่งเสริมการทํางานของสมอง การบริหารสมอง ไปจนถึงสามารถออกแบบโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถภาพทางสมอง การเลือกสถานพยาบาลและเครือข่ายความร่วมมือในการช่วยเหลือผู้สูงอายุสมองเสื่อมได้อีกด้วยจำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 10 ชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 3 ชั่วโมง 30 นาที) วัตถุประสงค์การเรียนรู้เชิงพฤติกรรม เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ . . . 1) บอกปัจจัยที่ก่อให้เกิดภาวะโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุได้ 2) อธิบายแนวทางการช่วยเหลือและการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมได้อย่างเหมาะสม 3) อธิบายความสัมพันธ์ทางโภชนาการกับสมรรถภาพทางสมองได้ 4) อธิบายหลักการบริหารสมองได้อย่างเหมาะสม 5) อธิบายแนวทางแก้ไขปัญหา และการเสริมสร้างสมรรถภาพทางสมองของผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม คุณสมบัติผู้เรียน/ความรู้พื้นฐานที่ควรมีมาก่อน บุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ รายละเอียดเกณฑ์การวัดผลและการประเมินผลในรายวิชา วัดจากการทำแบบทดสอบประเมินผลหลังเรียนแบบ 5 ตัวเลือก จำนวนหัวข้อละ 10 ข้อ ผลคะแนนการทดสอบในแต่ละหัวข้อได้เกินกว่าร้อยละ 80 จึงจะถือว่า "ผ่าน" รายวิชานี้ คณาจารย์ผู้สอน รองศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา จันทร์คง รองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นายแพทย์อุดม อัศวุตมางกุร ผู้อำนวยการสำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย ช่องทางติดต่อสอบถาม [email protected] Creative Commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์ “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”