Class Central is learner-supported. When you buy through links on our site, we may earn an affiliate commission.

ThaiMOOC

การเล่าเรื่องในสื่อดิจิทัลอย่างรู้เท่าทัน (สำหรับคนหูหนวก) | Digital Storytelling with Literacy (for the Deaf)

Rangsit University via ThaiMOOC

Overview

รายวิชานี้ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ศึกษาและเรียนรู้หลักสำคัญของเทคนิคการเขียนบทในรูปแบบต่าง ๆ และการเล่าเรื่องในสื่อดิจิทัล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการเล่าเรื่อง การวิเคราะห์ผู้ชม เข้าใจองค์ประกอบของการเล่าเรื่อง การสืบค้นข้อมูลเพื่อการเล่าเรื่อง และรู้จักวิธีการพัฒนาเรื่องเล่าในสื่อดิจิทัลและวิธีการใช้สื่อออนไลน์เพื่อการเล่าเรื่องได้อย่างเหมาะสม หมายเหตุ : บทเรียนรายวิชานี้พัฒนาและออกแบบการนำเสนอและแบบกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 3 ชั่วโมงการเรียนรู้ โดยเรียนรู้ 1-2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 2 ชั่วโมง) 1. ผู้เรียนสามารถอธิบายถึงความสำคัญและองค์ประกอบหลักของการเล่าเรื่องได้2. ผู้เรียนสามารถอธิบายถึงแนวทางการวิเคราะห์ผู้ชม บอกประเภทของแพลตฟอร์มสื่อ และอธิบายถึงแนวทางในการพัฒนาเรื่องเล่าในสื่อดิจิทัลได้ คนหูหนวก กลุ่มวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ที่สนใจสามารถเรียนได้ ผู้เรียนเข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน กิจกรรมในบทเรียน แบบทดสอบระหว่างเรียน (เก็บคะแนน 60%) และเข้าแบบทดสอบหลังเรียน (เก็บคะแนน 40%) ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้ อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก ผศ. ดร.ชวพร ธรรมนิตยกุล หัวหน้าสาขาการโฆษณาและสื่อสร้างสรรค์วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตE-mail: [email protected] อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาร่วม ผศ. ดร.กันยารัตน์ ศรีวิสทิยกุลอาจารย์ประจำภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรมคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังE-mail: [email protected]

Reviews

Start your review of การเล่าเรื่องในสื่อดิจิทัลอย่างรู้เท่าทัน (สำหรับคนหูหนวก) | Digital Storytelling with Literacy (for the Deaf)

Never Stop Learning.

Get personalized course recommendations, track subjects and courses with reminders, and more.

Someone learning on their laptop while sitting on the floor.