รายวิชาสื่อพลเมือง ศึกษาหลักการการสื่อสารของพลเมือง ภูมิทัศน์สื่อที่เปลี่ยนไป การมีส่วนร่วมของสื่อยุค 2.0 สื่อพลเมืองหรือวารสารศาสตร์พลเมือง แนวคิดวารสารศาสตร์พลเมือง สื่อพลเมืองบนภูมิทัศน์สื่อใหม่ วารสารศาสตร์พลเมืองบนพื้นที่สื่อสาธารณะ วารสารศาสตร์พลเมืองสู่ Collective Intelligence หลักการปฏิบัติการผลิตสื่อพลเมือง เทคนิคการถ่ายภาพเล่าเรื่อง และคู่มือการใช้งาน C-site จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 3 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 2 ชั่วโมง) 1. อธิบายการสื่อสารของพลเมือง 2. อธิบายสื่อพลเมืองบนภูมิทัศน์สื่อใหม่ 3. อธิบายวารสารศาสตร์พลเมืองบนพื้นที่สื่อสาธารณะ 4. อธิบายวารสารศาสตร์พลเมืองสู่ Collective Intelligence 5. อธิบายหลักการปฏิบัติการผลิตสื่อพลเมือง นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ที่สนใจสามารถเรียนได้ ผู้เรียนจะได้รับประกาศนียบัตร ต้องได้คะแนนรวมตั้งแต่ 70% ขึ้นไป จากคะแนนเต็ม 100% ในรายวิชาจึงถือว่าผ่านเกณฑ์ โดยมีรายละเอียดการเก็บคะแนนดังต่อไปนี้ 1. ผู้เรียนทำการศึกษาเนื้อหาบทเรียนและทำกิจกรรมการเรียนรู้ให้ครบทุกหัวข้อ 2. คะแนนเก็บท้ายบทเรียน มีจำนวน 10 ครั้ง จะคิดเป็น 60% ของคะแนนเต็ม 100% 3. คะแนนสอบปลายภาค มีจำนวน 40 ข้อ จะคิดเป็น 40% ของคะแนนเต็ม 100% 4. ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้ อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก คุณสมเกียรติ จันทรสีมา ตำแหน่ง : ผู้อำนวยการสำนักเครือข่ายและการมีส่วนร่วมสาธารณะ email : [email protected] อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาร่วม คุณสุวัจนา ทิพย์พินิจ ตำแหน่ง : เจ้าหน้าที่พัฒนาเครือข่ายอาวุโส องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) Thai Public Broadcasting Service (Thai PBS) #ThaiPBS #ไทยพีบีเอส #องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย #สื่อสาธารณะ