คำอธิบายรายวิชา จลนพลศาสตร์ของปฏิกิริยาของสารเนื้อเดียวและปฏิกิริยาของสารที่ไม่เป็นเนื้อเดียว การเร่งปฏิกิริยา ข้อมูลของปฏิกิริยาแบบกะ หลักพื้นฐานการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์กรณีอุณหภูมิคงที่และไม่คงที่ การออกแบบสำหรับปฏิกิริยาเชิงเดี่ยวและปฏิกิริยาเชิงซ้อน ผลของความดันและอุณหภูมิที่มีต่อจลนพลศาสตร์เคมี การสร้างแบบจำลองของการถ่ายโอนพลังงานและสมดุลโมลในเครื่องปฏิกรณ์เคมีชนิดต่างๆ และการใช้โปรแกรมทำแบบจำลองเครื่องปฏิกรณ์ทางวิศวกรรมเคมี จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 3 ชั่วโมงการเรียนรู้ใน Thai MOOC (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 2 ชั่วโมง 19 นาที) และกิจกรรมการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยนเรศวร รวม 5 ชั่วโมงการเรียนรู้ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. มีความสามารถในการนำความรู้และทักษะด้านจลนพลศาสตร์และการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ทางวิศวกรรมเคมีไปแก้ปัญหาในกระบวนการทางวิศวกรรมเคมีและที่เกี่ยวข้องผ่านการสื่อสารออนไลน์ได้ 2. สามารถวิเคราะห์และประยุกต์ใช้องค์ความรู้และทักษะด้านจลนพลศาสตร์และการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ทางวิศวกรรมเคมีและสามารถพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ได้อย่างเหมาะสม เพื่อศึกษาในระดับที่สูงขึ้นได้ และสามารถประยุกต์ใช้การสื่อสารออนไลน์ได้ 3. คุณธรรม จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ มนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถสนทนาการสื่อสารออนไลน์ได้ และถ่ายทอดองค์ความรู้ได้เป็นอย่างดี จนเกิดเป็น KM (Knowledge Management) ขึ้นได้ 4. มีความพร้อมและความสามารถนำการสื่อสารออนไลน์ไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน และในการประกอบอาชีพ และมีทักษะด้านการจัดการเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรมนุษย์ เพื่อประกอบอาชีพอิสระหรือเป็นผู้ประกอบการ ได้ 5.เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร ในแบบการสื่อสารออนไลน์ที่ทันสมัย สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน และในการประกอบอาชีพ ได้จริงได้ คุณสมบัติผู้เรียน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ที่สนใจสามารถเรียนได้ เกณฑ์การวัดผล เข้าทำแบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้ ทีมผู้รับผิดชอบรายวิชา MOOC อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก ดร.สุทธิพงษ์ ทรงประวัติ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ช่องทางติดต่อทีมผู้สอน e-Mail: [email protected] เบอร์ 085-194-1442 Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์ “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”
จลนพลศาสตร์และการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ทางวิศวกรรมเคมี | Chemical Engineering Kinetics and Reactor Design
Naresuan University via ThaiMOOC