Class Central is learner-supported. When you buy through links on our site, we may earn an affiliate commission.

Mahidol University

กลยุทธ์สู่ประชาคมอาเซียน: การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม | ASEAN Strategies: Politics, Economics, and Society

Mahidol University via ThaiMOOC

Overview

รายวิชานี้ได้ปรับเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced Learning) เกี่ยวกับวิชา (About This Course) คำอธิบายรายวิชา ความรู้เบื้องต้นในการศึกษาระบบการเมือง ระบบเศรษฐกิจ และระบบสังคมของประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้ง 10 ประเทศ รูปแบบการพัฒนาทางเศรษฐกิจ รูปแบบการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ความสัมพันธ์ที่ดีทางสังคมและวัฒนธรรมระหว่างประชาชนอาเซียน ความแตกต่างทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศสมาขิก แนวโน้มในการพัฒนาความสัมพันธ์ของประเทศสมาชิกอาเซียนในทุกมิติภายใต้กรอบอาเซียน Introduction to study on political system, economic system, and social system of 10 ASEAN members, model of economic development, model of economic cooperation development, close relation in social and culture among ASEAN citizen, political, economic and social diversity of member states, potential on relationship development among member states in all important perspectives. วัตถุประสงค์การเรียนรู้ของบทเรียนออนไลน์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจพื้นฐานทางการเมือง การปกครอง ระบบเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อเพิ่มโอกาสในการลงทุน และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประชาชนในประเทศสมาชิก เพื่อให้ผู้เรียนที่มีความสนใจด้านอาเซียนศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในงานและชีวิตประจำวัน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอาเซียนกับผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ออนไลน์ทั้งหมด 8 ชั่วโมงการเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 2 ชั่วโมง 48 นาที) จำนวนชั่วโมงที่จัดการเรียนรู้ต่อสัปดาห์/ต่อครั้ง 2 ชั่วโมง ระดับของเนื้อหารายวิชา (ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก):มัธยมศึกษา ปริญญาตรี และบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจเรื่องอาเซียน ระดับความยากของเนื้อหารายวิชา (เบื้องต้น กลาง สูง): เบื้องต้น อาจารย์ผู้สอน/Course Staff ผศ.ดร.พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์Assistant Professor Dr.Punchada Sirivunnaboodอีเมล์ [email protected] สังกัด : คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล Resume/CV/ประวัติโดยย่อ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์ Assistant Professor Dr. Punchada Sirivunnabood ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ ดร.พิชญา เอ็มเนทท์ Dr.Pitchaya Emnett จำนวนชั่วโมงที่จัดการเรียนรู้ต่อสัปดาห์/ต่อครั้ง 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ทั้งหมด 4 ครั้ง แผนการจัดการเรียนการสอน โดยแบ่งเนื้อหาการเรียนการสอนออกเป็น 4 บท แต่ละบทใช้เวลา 2 ชั่วโมง รวม 4 สัปดาห์ และมีหัวข้อ ดังนี้ บทที่ 1 บทนำ และ ประวัติศาสตร์ในการก่อตั้งอาเซียน จนถึงประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย หัวข้อย่อย (เรื่อง) ดังนี้ (2 ชั่วโมง) 1.1 การแผ่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และการก่อตั้งอาเซียนในปี พ.ศ. 2510 1.2 วิวัฒนาการของอาเซียนหลังจากการก่อตั้ง 1.3 ปฏิญญาและข้อตกลงต่างๆ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 1.4 การเพิ่มจำนวนสมาชิกอาเซียน 1.5 การพัฒนาอาเซียนสู่ประชาคมอาเซียน 1.6 แนวทางในการพัฒนาประชาคมอาเซียนให้ยั่งยืน 1.7 โครงสร้างของประชาคมอาเซียน บทบาท และเครื่องมือของเสาประชาคมอาเซียนแต่ละเสา 1.8 เปรียบเทียบบทบาท โครงสร้าง และหน้าที่ของอาเซียนกับองค์กรระดับภูมิภาคอื่นๆ บทที่ 2 ระบบการเมือง และความมั่นคงของประเทศสมาชิกอาเซียน ประกอบด้วยหัวข้อย่อย (เรื่อง) ดังนี้ (2 ชั่วโมง) 2.1 ศึกษาเปรียบเทียบระบบการเมือการปกครองของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ 2.2 ศึกษาเปรียบเทียบระบบพรรคการเมือง การเลือกตั้งและการมีส่วนร่วมทางการเมืองในภาคประชาชน 2.3 ปัญหาคอร์รัปชั่นในประเทศสมาชิกอาเซียน 2.4 ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ 2.5 ปัญหาความมั่นคงรูปแบบใหม่ในอาเซียน 2.6 แนวทางในการแก้ไขปัญหาจากความมั่นคงรูปแบบใหม่ในอาเซียน 2.7 แนวทางความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างอาเซียนและประเทศคู่เจรจาอาเซียน บทที่ 3 ระบบเศรษฐกิจ และการลงทุนในอาเซียน ประกอบด้วยหัวข้อย่อย (เรื่อง) ดังนี้ (2 ชั่วโมง) 3.1 ความหมายของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 3.2 ภาพรวมการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอาเซียน 3.3 ความสำคัญเชิงเศรษฐกิจของอาเซียนในระบบเศรษฐกิจโลก 3.4 ภาพรวมการค้าของอาเซียน 3.5 ภาคเศรษฐกิจที่สำคัญในการส่งออกและประเทศคู่ค้าที่สำคัญของอาเซียน 3.6 ภาพรวมการลงทุน และ อัตราการเจริญเติบโตของการลงทุนในอาเซียน 3.7 โครงสร้างและส่วนประกอบของพิมพ์เขียวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint 2007) และข้อตกลงทางเศรษฐกิจของอาเซียนที่เกี่ยวข้อง 3.8 ผลกระทบของ AEC ต่อเศรษฐกิจอาเซียน บทที่ 4 สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ประกอบด้วย หัวข้อย่อย (เรื่อง) ดังนี้ (2 ชั่วโมง) 4.1 ความแตกต่างใน ศาสนา ภาษา และวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกอาเซียน 4.2 ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม 4.3 กฎหมายควบคุมอาคารกับความปลอดภัยของประชาชนอาเซียน 4.4 บทบทของ ASEAN University Network เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดด้านการศึกษา 4.5 ปัญหาสิ่งแวดล้อมในอาเซียน เช่น ไฟป่า และหมอกควัน ปัญหาน้ำแล้ง ปัญหาทรัพยากรสัตว์ป่า 4.6 แนวทางความร่วมมือในการปกป้องสิ่งแวดล้อมของภูมิภาค และการป้องกัน กิจกรรมการเรียนรู้ ดูวีดีโอ ตอบคำถาม และทำแบบฝึกหัด สื่อการเรียนรู้ วิดีทัศน์พร้อมคำบรรยาย และ เอกสารอ่านเพิ่มเติม ในบางหัวข้อ ระยะเวลาการเรียน สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ประเภทการวัดผล สอบย่อย หรือ quiz ในแต่ละหัวข้อ เก็บคะแนนไปตลอดระยะเวลาการเรียน โดยผู้เรียนต้องได้คะแนน เกินร้อยละ 80 จึงจะเรียนจบ (Quizรวมทั้งสิ้น 105 ข้อ ตลอดเวลาการเรียนการสอน 4 สัปดาห์) รูปแบบ Quiz Multiple Choice, Dropdown, Checklist และ เติมคำในช่องว่าง “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”

Reviews

Start your review of กลยุทธ์สู่ประชาคมอาเซียน: การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม | ASEAN Strategies: Politics, Economics, and Society

Never Stop Learning.

Get personalized course recommendations, track subjects and courses with reminders, and more.

Someone learning on their laptop while sitting on the floor.