รายวิชานี้ได้ปรับเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced Learning) คำอธิบายรายวิชา ความหมาย วิวัฒนาการ การนิยามปัญหา และเทคนิคการค้นหาในปัญญาประดิษฐ์ ความหมายและกระบวนการทางวิศวกรรมความรู้ เทคนิคการแทนความรู้ ภาษาโปรล็อก ขั้นตอนในการเข้าใจภาษาธรรมชาติ การวิเคราะห์ทางวากยสัมพันธ์ ตัวแจงส่วนแบบบนล่างและตัวแจงส่วนแบบตาราง ไวยากรณ์ข่ายงานเปลี่ยนสถานะ บทบาทของปัญญาประดิษฐ์ในชีวิตประจำวัน และบทบาทของปัญญาประดิษฐ์กับธุรกิจดิจิตอล และการปรับตัวขององค์กรธุรกิจในอนาคต จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 10 ชั่วโมงเรียนรู้ จำนวนชั่วโมงสื่อ 3 ชั่วโมง 30 นาที วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. ผู้เรียนสามารถนิยามปัญหาและบอกเทคนิคการค้นหาในปัญญาประดิษฐ์ได้ 2. ผู้เรียนสามารถอธิบายกระบวนการทางวิศวกรรมความรู้และการแทนความรู้ได้ 3. ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์วากยสัมพันธ์และข่ายงานทางคอมพิวเตอร์ได้ 4. ผู้เรียนสามารถเลือกใช้ปัญญาประดิษฐ์กับชีวิตประจำวันและการดำเนินธุรกิจได้ คุณสมบัติผู้เรียน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ที่สนใจสามารถเรียนได้ เกณฑ์การวัดผล ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้ .course-staff .teacher .teacher-image{ height: 200px !important; width: 150px !important; } ทีมผู้รับผิดชอบรายวิชา อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นรีรัตน์ อนันต์ชัยรัชตะ [email protected] หัวข้อการแสดงความคิดเห็น (Discussion forum) ผู้สอนจะเข้ามาตอบข้อคำถาม ประเด็นสงสัย(Discussion forum) ที่เกี่ยวข้อกับเนื้อหาในรายวิชาวันช่วงวันเสาร์ เวลา 21.00 น. หรือ ตอบภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากที่ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น คำถาม หรือประเด็นต่างๆ Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์ “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”
ปัญญาประดิษฐ์เพื่องานธุรกิจ | Artificial Intelligence for Business
Rattana Bundit University via ThaiMOOC