คำอธิบายรายวิชา ปรัชญา แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมในศตวรรษที่ 21 สิทธิตามกฎหมาย สำหรับผู้มีความต้องการพิเศษในการศึกษา และอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นในสังคม การเตรียมนักเรียน ครู โรงเรียน และผู้ปกครองสำหรับการศึกษาแบบเรียนร่วม รูปแบบและวิธีการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมที่เหมาะสมกับสังคมไทยได้ จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 12 ชั่วโมงเรียนรู้ (จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 4 ชั่วโมง 12 นาที) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ 1. ผู้เรียนบ่งบอกถึงความสำคัญของการเรียนร่วมที่มีต่อการพัฒนาสังคมไทย 2. ผู้เรียนสามารถระบุอธิบายความหมาย วิเคราะห์ เปรียบเทียบ สังเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลงของการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมในศตวรรษที่ 21 3. ผู้เรียนมีระบบคิด อย่างมีวิจารณญาณ สามารถศึกษาวิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาเสนอแนวทางแก้ไขเกี่ยวกับการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย 4. ผู้เรียนมีความสามารถในการปฏิบัติการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมที่มีความทันสมัย สามารถปรับรูปแบบต่างๆ ของการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมได้เหมาะสมกับความเป็นประเทศไทย 4.0 แบบเรียนร่วมที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย คุณสมบัติผู้เรียน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ที่สนใจสามารถเรียนได้ เกณฑ์การวัดผล ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้ ทีมผู้รับผิดชอบรายวิชา อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภูฟ้า เสวกพันธ์ ภาควิชาพลศึกษาและวิทยาศาสตร์การออกกำลังกาย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตำแหน่งอื่น ๆ รองคณบดีฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์และคุณภาพนิสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร email : [email protected] Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์ “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”
การเรียนร่วมศตวรรษที่ 21 | Start up Inclusive Education in 21st Century
Naresuan University via ThaiMOOC