รายวิชานี้ได้ปรับเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย (Self-Paced Learning) เหตุผล ความจำเป็น การบัญชีมีบทบาทสำคัญต่อสังคม ในฐานะที่เป็นสาขาหนึ่งของเศรษฐกิจ การบัญชีให้สารสนเทศเกี่ยวกับการรายงานทางการเงินของกิจการที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตัดสินใจในการจัดสรรทรัพยากร หากสารสนเทศที่รายงานมีความน่าเชื่อถือและเป็นประโยชน์แล้ว ทรัพยากรที่มีจำกัดจะสามารถทำการจัดสรรในลักษณะที่เหมาะสม นอกจากนี้สารสนเทศทางบัญชีที่มีคุณภาพย่อมสามารถสะท้อนภาพเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจและส่งสัญญาณเตือนภัยให้แก่ผู้ใช้สารสนเทศทางบัญชี ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า การบัญชี ถือเป็น “ภาษาของธุรกิจ” ที่ไม่ว่าจะเป็นใครในองค์กรธุรกิจหรือบุคคลทั่วไปควรต้องมีความรู้ความเข้าใจในสารสนเทศทางบัญชีเป็นอย่างดี เพื่อสามารถทำการตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency) เพิ่มมูลค่าให้องค์กร (Value Added) และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ (Competitive Advantage) ทั้งนี้ การบัญชีบริหารเป็นศาสตร์หนึ่งของการบัญชีที่สำคัญซึ่งจัดเตรียมข้อมูลเพื่อตอบสนองความต้องการของฝ่ายบริหารตามโครงสร้างองค์กร ผู้บริหารเป็นผู้นำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในกระบวนการตัดสินใจเพื่อการวางแผน สั่งการ ควบคุม และประเมินผล ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการบัญชีบริหารนับว่ามีบทบาทสำคัญต่อการบริหารธุรกิจที่มีการแข่งขันกันมาก การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากธุรกิจแบบเดิม จากเดิมผู้ผลิตเป็นผู้กำหนดลักษณะคุณภาพ รวมทั้งราคาของสินค้า แต่ในปัจจุบันลูกค้าหรือผู้บริโภคคือผู้ที่มีอำนาจในการกำหนดราคา คุณภาพสินค้าและบริการ รวมทั้งกลไกทางตลาด ทิศทางในการดำเนินธุรกิจขึ้นอยู่กับความพอใจของลูกค้าหรือผู้บริโภค กิจการต่างๆ จึงต้องปรับตัวเองให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นจึงจะสามารถอยู่รอด ประกอบกิจการเพื่อผลกำไรเป็นที่น่าพอใจและมีบทบาทในการช่วยเหลือสังคม การบัญชีบริหารเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมให้การดำเนินธุรกิจให้สามารถบรรลุเป้าหมายของกิจการได้ อย่างไรก็ตาม นักบัญชีบริหารมีหน้าที่นำเสนอข้อมูลให้กับผู้บริหารและพนักงานภายในองค์กรได้ใช้ประโยชน์นั้น องค์กรต้องทำการกำหนดโครงสร้างการบริหารที่เหมาะสม ชัดเจน รองรับการทำงานและการนำเสนอข้อมูลจากฝ่ายบัญชี และเพื่อความสะดวก รวดเร็วและชัดเจนในการนำเสนอข้อมูลเหล่านั้นได้ตรงกับผู้ใช้นำพาองค์กรสู่ความสำเร็จได้ ดังนั้น เพื่อให้การบัญชีบริหารได้มีบทบาทต่อสังคมอย่างกว้างขวาง จึงมีความจำเป็นและความเหมาะสมในการดำเนินการจัดการเรียนการสอนผ่านโครงการเรียนการสอนในระบบเปิด (Thai MOOC) คำอธิบายรายวิชา รายละเอียดของเนื้อหาที่สำคัญประกอบด้วย แนวคิดเกี่ยวกับการบัญชีบริหารและต้นทุน ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุน ปริมาณ และกำไร การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน การปันส่วนและต้นทุนฐานกิจกรรม การวางแผนและควบคุมสินค้าคงคลัง รวมถึงการจัดทำงบประมาณ เพื่อการวางแผนและควบคุม นอกจากนี้ในเนื้อหายังมีการประยุต์ใช้การบัญชีต้นทุนเพื่อการตัดสินใจ และการวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีเพื่อการบริหาร จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ จำนวนชั่วโมงเรียนรู้ทั้งหมด 10 ชั่วโมงเรียนรู้(จำนวนชั่วโมงสื่อวีดิทัศน์ 3 ชั่วโมง 30 นาที) (2 ชั่วโมงการเรียนรู้/ต่อสัปดาห์) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ LO1 : ผู้เรียนสามารถบอกแนวคิดเกี่ยวกับการบัญชีบริหารและต้นทุน LO2 : ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุน ปริมาณ และกำไร หรือการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน LO3 : ผู้เรียนสามารถคำนวณการปันส่วนและต้นทุนฐานกิจกรรมและการวางแผนและควบคุมสินค้าคงคลัง LO4 : ผู้เรียนสามารถจัดทำงบประมาณเพื่อการวางแผนและควบคุมเบื้องต้นได้ LO5 : ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้การบัญชีต้นทุนเพื่อการตัดสินใจ และการวิเคราะห์ข้อมูลทางบัญชีเพื่อการ บริหาร คุณสมบัติผู้เรียน นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ทุกเพศ ทุกวัย ที่สนใจสามารถเรียนได้ เกณฑ์การวัดผล เข้าทำแบบทดสอบก่อนเรียน กิจกรรมในบทเรียน แบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน ผู้เรียนมีคะแนนรวมทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 70% ถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับประกาศนียบัตรในระบบได้ ทีมผู้รับผิดชอบรายวิชา MOOC อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหลัก ผศ.ดร.กัญฐณา ดิษฐ์แก้ว ภาควิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ รองคณะบดีคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาร่วม ผศ.ดร.ลภัสรดา พิชญาธีรนาถ สาขาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ หัวหน้างานตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยเทคราชภัฏเลย อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาร่วม ส.อ.พงศ์พันธ์ศักดิ์ พึ่งชาติ ส่วนงานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ หัวหน้าฝ่ายวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก ช่องทางติดต่อทีมผู้สอน e-Mail: [email protected] เบอร์:063-926-5154 e-Mail: [email protected] เบอร์:097-983-2355 Creative commons สัญญาอนุญาตสิทธิ์ “สื่อการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Thai MOOC (thaimooc.org) และเผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตสิทธิ์แบบ Creative Commons ด้วยเงื่อนไข CC BY NC SA”